tel line fb
หินขัดน้ำมัน เทคนิคการขัด เพื่อให้ได้ผิวงานที่ดีที่สุด

หินขัดน้ำมัน เทคนิคการขัด เพื่อให้ได้ผิวงานที่ดีที่สุด


การใช้งานเครื่องมือ สิ่งของตกแต่ง เพื่อให้สิ่งที่เราสร้างขึ้นมา ถูกออกแบบให้ต้องสวยงาม และถูกใจ นั่นคือสิ่งที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญกับมัน และ หินขัดน้ำมัน จะมีเทคนิคการขัดอย่างไรให้ออกมาดีที่สุดได้

 

Stone Abrasive หรือ หินขัดน้ำมัน

     Stone Abrasive หรือ หินขัดน้ำมัน ในภาษาวงการของผู้ใช้ อาจจะเรียกว่า หินน้ำมัน, Oil Stone, หินขัดแม่พิมพ์,หินขัดน้ำมันหรือหินขัด ไม่ว่าแต่ละท่านใช้ศัพท์แบบไหน เป็นอันว่าเหมือนกัน ในการทำ Mold & Die กระบวนการเริ่มต้น จะเริ่มจากการ Machining ซึ่งจะใช้ ( Insert  หรือ Endmill ) แล้วอาจไปต่อด้วยกระบวนการ EDM หลังจากนั้น ก็อาจไปจบด้วยกระบวนการ Polishing ซึ่งเรามักจะใช้หินขัดในขั้นตอนนี้ แต่แนวโน้มในอนาคต ซึ่งก็อาจมีบ้างแล้ว Tool รุ่นใหม่ๆ ก็สามารถทำผิวได้ดีระดับ Finishing ได้ โดยไม่ต้องมีขั้นตอนขัด โดยใช้หินขัด ในขั้นตอนต่อไป แต่ก็ถือว่ายังมีน้อย ดังนั้น กระบวนการขัด โดยใช้หิน ก็ยังมีความสำคัญอยู่มากเช่นกัน

 

     ต้นทุน การทำ Mold & Die เท่ากับค่า Raw Material + ค่า Tool ( Cutting tool + Abrasive tool ) +  ค่าเครื่องจักร + ค่าแรง + อื่นๆ

 

     เรามาพิจารณาในส่วนค่า Tool ซึ่ง Abrasive Tool ถือว่าเป็นต้นทุนที่ต่ำมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ Cutting Tool เราจะทำอย่างไร ถึงจะเลือกใช้ได้ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อให้งานเสร็จอย่างรวดเร็ว และได้คุณภาพ วันนี้จะขอกล่าวถึง Abrasive Tools ในส่วนของ Stone Abrasive ( หินขัด )

 

องค์ประกอบของหินขัด มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ

1. Grains ( วัสดุขัดถู )

2. Bandage ( วัสดุประสาน )

3. Holes or Bubble ( ช่องว่าง, ฟองอากาศ )

 

วิธีการขัดให้ได้ผิวงานที่ดี

 

1. ทิศทางการขัด

     สำหรับ หินขัดที่มีช่องว่าง ( Bubble ) ซึ่งเป็นหินส่วนใหญ่ในตลาด ( Conventional Stone ) 




     สำหรับ หินขัดที่ไม่มีช่องว่าง ( No Bubble ) ให้ผลเหมือนกัน สำหรับการขัดทั้ง 2 แบบ




     หมายเหตุ AAA ได้ผลิตหินขัดชนิด No Bubble ในรุ่น Soft Stone

 

NO เพราะว่าจะทำให้เกิดรอย ( Scatch ) ได้ง่าย ช่วงเวลาขัด เนื่องจากเศษวัสดุและหินขัด

YES ให้ผิวที่ดีกว่าและขัดงานได้เร็วกว่า

 

2. การใช้น้ำยาขัดหิน ( Oil Stone )

     ช่วยในการขัดงานให้ได้เร็วขึ้นกว่าการขัดแห้ง และไม่ให้เศษเกิดการอุดตัน ( ถ้าเศษอุดตัน จะทำให้เกิดการตัดซ้ำ ( Recutting ) ผิวงานที่ได้จะทำให้เกิดรอย ( Scatch ) ได้ง่าย ในงานขัดมีใช้กันอยู่ 2 ชนิด

 

     2.1 Oil Base ซึ่งช่างในบ้านเรา มักนิยมกันแบบนี้ เพราะว่าหาง่าย ราคาถูก ซึ่งอาจจะเป็นน้ำมัน EDM, น้ำมันก๊าดแต่ให้ผลไม่ดีสู้ Water Base ไม่ได้ เพราะว่าหินขัด โดยส่วนใหญ่ตัวประสาน ( Bandage ) จะละลายได้ดีในน้ำ แต่ไม่ละลายในน้ำมัน ดังนั้น เมื่อเราใช้น้ำยา ที่เป็น Oil Base เศษจึงไม่เกิดการกระจายตัว ทำให้เกิด Recutting เกิดขึ้น

     2.2  Water Base เหมาะมาก สำหรับหินขัดที่มีตัวประสาน ( Bandage ) มีน้ำตัวทำละลาย หิน 80 - 90 % ในตลาด ซึ่งตัวประสาน จะมีน้ำเป็นตัวทำละลาย เพราะจะช่วยให้เศษไม่อุดตัน ลดแรงเสียดทาน ในการขัด ทำให้เบาแรงในการขัด แต่ราคาสูงกว่า Oil Base แต่ไม่มาก การใช้น้ำยาขัดชนิดนี้ ต้องระวัง เพราะเมื่อใช้แล้ว ควรเช็ดแม่พิมพ์ให้แห้ง และชะโลมน้ำมัน เพื่อป้องกันสนิม




3. อุปกรณ์ในการขัด




     3.1 เครื่องขัด Hand Grinding ในกรณีที่ขัดเป็นพื้นที่แคบๆ

     3.2 Holder เพื่อช่วยปกป้องหินขัดหักง่าย และช่วยถ่ายแรงจากมือไปสู่หินขัด

 

     และนี่คือ เทคนิคการขัด หินขัดน้ำมัน เพื่อให้ได้ผิวงานที่ดีที่สุด หลังจากนี้ หากได้ลองนำเทคนิคเหล่านี้ลองไปใช้ รับรองได้เลยว่า งานต้องมาดีแน่นอน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก factorymax

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

- หินขัด มีประโยชน์อย่างไร

- กระดาษทราย อุปกรณ์ที่จำเป็น