ตะไบเป็นเครื่องมือที่ทำมาจากเหล็กกล้าผสมคาร์บอน
โดยผิวของตะไบจะเป็นลักษณะคมมีดที่เรานิยมเรียกกันว่า “ฟันตะไบ”
เป็นส่วนที่ใช้ในการขัดตกแต่ง หรือปรับผิวชิ้นงานที่มีผิวขรุขระให้มีความเรียบ
วันนี้จะนำความรู้เกี่ยวกับ ตะไข และการใช้งานมาฝากกันค่ะ
ตะไบ คือ
เครื่องมือที่ทำมาจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขัดแต่งผิว
หรือปาดหน้าชิ้นงานที่ต้องการขจัดเนื้อโลหะทิ้งไปไม่มากนัก ดังนั้น การตะไบ
ก็คงจะหมายถึง
การตัดเฉือนผิววัสดุงานออกในลักษณะการถากหรือขูดเพื่อลดขนาดของชิ้นงานหรือเพื่อปรับแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อยตามความต้องการ
ตะไบ เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่ทำจากเครื่องมือ
(Tool Steel) โดยการนำไปขึ้นรูปแล้วนำไปชุบแข็ง (Hardening) ที่ผิวหน้าของตะไบจะมีคมตัดที่เรียกว่า
ฟันตะไบ โดยที่ฟันตะไบเหล่านี้จะเรียงเป็นแถวขนานกันไปตลอดความยาวก้านของตะไบ
และแถวของตะไบนี้จะทำมุมเอียงกับขอบตะไบอีกด้วย
ปัจจุบันตะไบมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบตามลักษณะของงาน
โดยตะไบแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
1. ตะไบแบน (Flat File)
มีลักษณะหน้าตะไบเป็นรูปสี่แหลี่ยมพื้นผ้า
ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้กับงานทั่วๆ ไป
2. ตะไบกลม (Round File)
หรือตะไบหางหนู (Rat Tail
File)
ฟันของตะไบมีทั้งแบบลายตัดเดี่ยวและลายตัดคู่
นิยมใช้ในงานตะไบส่วนโค้งของชิ้นงาน ใช้ตะไบขยายขนานรูกลม และใช้ตะไบร่องโค้ง
3. ตะไบสี่เหลี่ยม (Square
File)
ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่
นิยมใช้กับชิ้นงานที่เป็นมุมต่างๆ ใช้ในการตะไบขยายขนาดร่อง
หรือรูชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เพื่อให้ได้มุมฉากของผิวชิ้นงาน
4. ตะไบท้องปลิง (Half Round
File)
ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่
มีลักษณะรูปทรงตะไบจะเป็นครึ่งวงกลม นำใช้งานผิวงานที่เป็นโค้ง
5. ตะไบสามเหลี่ยม (Three
Square File)
ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้ในงานตะไบมุมของชิ้นงาน
เช่นเดียวกับตะไบสี่เหลี่ยม แต่จะใช้ในงานที่มีมุมน้อยกว่า 90 องศา
6. ตะไบปลายมีด
(Knife File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่
เหมาะสำหรับใช้ในงานตะไบร่องงานที่มีขนาดแคบๆ ลักษณะตะไบจะคล้ายกับปลายมีด
7. ตะไบปลายงอ (Liffler’s
File) ตะไบชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานทำแม่พิมพ์โลหะ
(Tool and Die) และงานทำแม่พิมพ์พลาสติก
(Mold) โดยเฉพาะ
ส่วนประกอบของตะไบ
ตะไบ ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญ 5 ส่วน
ดังนี้
1. หน้าตะไบ (Face) เป็นพื้นผิวที่จะถูกเครื่องจักรกลขึ้นรูปให้มีคมตัดของตะไบเรียงเป็นแถวซ้อนกันไปตลอดความยาวของหน้าตะไบ
2. ขอบตะไบ (Edge) เป็นความหนาของตะไบที่ขอบของตะไบจะมี
2 ชนิด
ขอบข้างเรียบ ใช้สำหรับตะไบงานที่ไม่ต้องการให้บอบข้างของตะไบตัดเฉือนเกินเนื้องานขณะที่ปฏิบัติงานตะไบ
ขอบข้างมีคม โดยจะมีลักษณะเป็นฟันหยาบๆใช้สำหรับขูดผิวงานเพื่อขูดสนิมหรือสิ่งสกปรกที่ผิวหน้างานก่อนลงมือปฏิบัติงาน
3. ปลายตะไบ (Tip) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของตะไบสำหรับใช้มือข้างที่ไม่ถนัดประคองหรืออกแรงกดเพื่อให้คมตะไบกินเนื้อวัสดุงานมาก-น้อย
ตามต้องการ
4. โคนตะไบ (Heel) เป็นส่วนที่พิมพ์สัญลักษณ์ยี่ห้อตะไบและแหล่งที่ผลิต
อยู่ส่วนปลายด้านล่างของผิวหน้าตะไบติดกับกั่นตะไบ
ที่บริเวณโคนตะไบจะไม่มีฟันตะไบอยู่
6. กั่นตะไบ (Tang) มีลักษณะเป็นปลายแหลม
กั่นตะไบจะถูกยึดอยู่ภายในด้ามตะไบขนาดใช้งาน
7. ด้ามตะไบ (Handle) อาจเป็นด้ามไม้หรือพลาสติกสวมเข้ากับกั่นตะไบ
เพื่อให้มือจับประคอง
ในการปฏิบัติงานด้ามตะไบที่ดีควรมีลักษณะกลมมน
ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้นานโดยไม่รู้สึกเจ็บมือ
การจัดเก็บบำรุงรักษา ตะไบ
- ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่
- ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก
- ชโลมน้ำมันใบกบก่อนเก็บเข้าที่เก็บ
-
ทำความสะอาดตะไบโดยใช้แปรงทองเหลืองปัดเศษโลหะออก
-
ไม่ควรวางตะไบทับกันเพราะจะทำให้คมตะไบสึกหรอได้ง่าย
เราควรต้องเลือกใช้ตะไบให้ถูกต้องตามคุณสมบัติเฉพาะของมัน
เพื่อที่จะได้งานที่มีคุณภาพและเนื้องานที่ดี หากคุณสนใจ สินค้าเกี่ยวกับ งานขัด ไว้ใช้งานเพื่อประดับตกแต่งชิ้นงาน
สามารถดู สินค้า ในการใช้งานของต่าง ๆ ได้เลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
hmgroupthailand
อ่านบทความเพิ่มเติม
การใช้งานของ
หินขัดเพชร Diamond